สถิติ
เปิดเมื่อ27/12/2013
อัพเดท25/02/2014
ผู้เข้าชม13072
แสดงหน้า16451
สินค้า
บทความ
ความหมายของประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์
คำอธิบายรายวิชา ง30290 การประชาสัมพันธ์
ความสำคัญของประชาสัมพันธ์
บทที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
บทที่ 2 เรื่อง ประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์
บทที่ 3 เรื่อง หลักการและวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
บทที่ 4 เรื่อง การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณา
บทที่ 5 เรื่อง ขั้นตอนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 6 เรื่อง หน่วยงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 7 เรื่อง สื่อการประชาสัมพันธ์
บทที่ 8 เรื่อง การประเมินการประชาสัมพันธ์
บทที่ 9 เรื่อง คุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์
บทที่ 10 เรื่อง ศึกษาดูงาน ฝึกปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์
My proflie
คำอธิบายรายวิชา
บทที่ 1 ธรรมชาติและวัฒนาการของเทคโนโลยี
บทที่ 2 เรื่องกระบวนการเทคโนโลยี
บทที่3 เรื่องการออกแบบและเทคโนโลยี
บทที่ 4 เรื่อง พลังงานหมุนเวียน
บทที่ 5 เรื่อง หลัก 4 R กับการลดใช้พลังงาน
บทที่ 6 เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์กับโครงงานออกแบบและเทคโนโลยี
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




บทความ

บทที่ 4 เรื่อง พลังงานหมุนเวียน
รหัสวิชา ง 22101       ชื่อวิชา  การงานอาชีพและเทคโนโลยี 34   
ช่วงชั้นที่  3  ชั้นปีที่  2   
ครูผู้สอน ดรุณี   กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  จังหวัดเชียงใหม่          
                         
บทที่ 4   เรื่อง  พลังงานหมุนเวียน



 
สาระที่  3:  การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 3.1  :  เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการของเทคโนโลยี  ใช้ความรู้  ภูมิปัญญา  จินตนาการ  และความคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ  สร้างสิ่งของเครื่องใช้  วิธีการเชิงกลยุทธ์  ตามกระบวนการเทคโนโลยี  สามารถตัดสินใจ  เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต  สังคม  สิ่งแวดล้อม  โลกของงานและอาชีพ
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
  1. เข้าใจความหมาย ประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียน
  2. บอกประเภทของพลังงานหมุนเวียนได้
  3. เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
  4. เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานลม
  5. เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานน้ำ
  6. เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวมวล
  7. เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวภาพ
  8. มีเจตคติที่ดีต่อการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตเพื่อการดำรงชีวิต
 
จุดประสงค์การเรียนรู้
  1. บอกความหมาย ประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียน
  2. บอกประเภทของพลังงานหมุนเวียนได้
  3. อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
  4. อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานลม
  5. อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานน้ำ
  6. อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวมวล
  7. อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวภาพ
  8. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพลังงานในชีวิตประจำวันได้
  9. สามารถเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนได้
 
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
   1.   ความสามารถในการสื่อสาร 
   2.   ความสามารถในการคิด
   3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา
   4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  
   5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

 

ความหมายของพลังงานหมุนเวียน
        คือ พลังงานที่ได้มาจากกระแสพลังงานที่ต่อเนื่องและเกิดซ้ำ ๆ ในสิ่งแวดล้อม แหล่งของพลังงานหมุนเวียน คือ แหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นอยู่ต่อเนื่องไม่หมดไป เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล หรือแม้แต่ขยะมูลฝอย เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนนี้ได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก รวมถึงการเปลี่ยนรูปพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้เป็นพลังงานไฟฟ้า
        ส่วนประเทศไทยในอดีตนั้นการผลิตไฟฟ้าได้ถูกจำกัดสิทธิแก่เฉพาะการ ไฟฟ้าของประเทศไทยเท่านั้น แต่กฎระเบียบเหล่านี้ได้รับการพัฒนา จนเอกชนสามารถทำการผลิตไฟฟ้าได้ด้วยเช่นกัน ตลอดถึงเอกชนรายเล็ก ๆ หรือชุมชนก็สามารถทำการผลิตไฟฟ้าแล้วส่งขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ได้ด้วย จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้สนใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการพึ่งพาระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเพียงระบบเดียว หรือต้องการมีบ้านเรือนหรือโรงงานที่มีระบบไฟฟ้าเองเพื่อประสิทธิภาพหรือภาพ ลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น
 
ความสำคัญของพลังงานหมุนเวียน
            พลังงานหมุนเวียนมีความสำคัญต่อชีวิตของคนเรามาก เป็นพลังงานที่จะมาแทนที่พลังงานสิ้นเปลืองในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากเป็นพลังงานที่หาได้ง่าย ใช้ได้อย่างต่อเนื่องไม่มีวันหมดสิ้น

ประโยชน์จากพลังงานหมุนเวียน

        ประโยชน์ ที่ได้จากพลังงานหมุนเวียน มีหลาย ๆ ด้าน ทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อมลดมลพิษจากการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล จำพวกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่างๆ อีกทั้งลดการนำเข้าเชื้อเพลิงพวกนี้จากต่างประเทศ และพลังงานเชื้อเพลิงยังให้ผลตอบแทนการลงทุนที่น่าสนใจอีกด้วย
        ซึ่งวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ และถือว่าเป็นการสร้างประโยชน์จากสิ่งด้อยค่าให้กลับมามีค่าในการพัฒนา ประเทศได้ นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาปัญหาการเพิ่มการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน บรรยากาศ ที่จะนำไปสู่การเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกและจะทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น


  ความหมาย ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
            เซลล์แสงอาทิตย์
                กระบวนการของเซลล์แสงอาทิตย์คือการผลิตไฟฟ้าจากแสง ความลับของกระบวนการนี้คือการใช้สารกึ่งตัวนำที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะ สมเพื่อปล่อยประจุไฟฟ้า ซึ่งเป็นอนุภาคที่ถูกชาร์จที่ขั้วลบ สิ่งนี้เป็นพื้นฐานของไฟฟ้า
               สารกึ่งตัวนำที่ใช้กันมากที่สุดในเซลล์แสงอาทิตย์คือซิลิกอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่พบโดยทั่วไปในทราย เซลล์แสงอาทิตย์ทุกชิ้นมีสารกึ่งตัวนำดังกล่าว 2 ชั้น ชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วบวก อีกชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วลบ เมื่อแสงส่องมายังสารกึ่งตัวนำ สนามไฟฟ้าที่แล่นผ่านส่วนที่ 2 ชั้นนี้ตัดกันทำให้ไฟฟ้าลื่นไหล ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสลับ ยิ่งแสงส่องแรงมากเท่าใด ไฟฟ้าก็ลื่นไหลมากขึ้นเท่านั้น
            ในด้านการออกแบบสถาปนิกยังใช้เซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้นโดยใช้เป็น คุณลักษณะสำคัญของการออกแบบ ตัวอย่างเช่น หลังคากระเบื้องหรือหินชนวนติดเซลล์แสงอาทิตย์สามารถใช้แทนวัสดุทำหลังคาที่ ใช้กันทั่วไป ฟิล์มแบบบางที่ยืดหยุ่นสามารถนำไปประกอบเข้ากับหลังคารูปโค้งได้ ในขณะที่ฟิล์มกึ่งโปร่งแสงทำให้เกิดการผสมผสานแสงเงาเข้ากับแสงในตอนกลางวัน นอกจากนี้เซลล์แสงอาทิตย์ยังสามารถผลิตพลังงานสูงสุดให้กับอาคารในวันอากาศ ร้อนในฤดูร้อนเมื่อระบบปรับอากาศต้องใช้พลังงานมากที่สุด ดังนั้นจึงช่วยลดภาวะไฟฟ้าเพิ่มปริมาณขึ้นสูงสุด





            ขอบคุณข้อมูลจาก

http://bhumibol.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99
และ http://www.krubie.myreadyweb.com/article/topic-10239.htm