สถิติ
เปิดเมื่อ27/12/2013
อัพเดท25/02/2014
ผู้เข้าชม13079
แสดงหน้า16458
สินค้า
บทความ
ความหมายของประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์
คำอธิบายรายวิชา ง30290 การประชาสัมพันธ์
ความสำคัญของประชาสัมพันธ์
บทที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
บทที่ 2 เรื่อง ประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์
บทที่ 3 เรื่อง หลักการและวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
บทที่ 4 เรื่อง การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณา
บทที่ 5 เรื่อง ขั้นตอนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 6 เรื่อง หน่วยงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 7 เรื่อง สื่อการประชาสัมพันธ์
บทที่ 8 เรื่อง การประเมินการประชาสัมพันธ์
บทที่ 9 เรื่อง คุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์
บทที่ 10 เรื่อง ศึกษาดูงาน ฝึกปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์
My proflie
คำอธิบายรายวิชา
บทที่ 1 ธรรมชาติและวัฒนาการของเทคโนโลยี
บทที่ 2 เรื่องกระบวนการเทคโนโลยี
บทที่3 เรื่องการออกแบบและเทคโนโลยี
บทที่ 4 เรื่อง พลังงานหมุนเวียน
บทที่ 5 เรื่อง หลัก 4 R กับการลดใช้พลังงาน
บทที่ 6 เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์กับโครงงานออกแบบและเทคโนโลยี
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




บทความ

บทที่ 5 เรื่อง หลัก 4 R กับการลดใช้พลังงาน
รหัสวิชา ง 22101       ชื่อวิชา  การงานอาชีพและเทคโนโลยี 34   
ช่วงชั้นที่  3  ชั้นปีที่  2   
ครูผู้สอน ดรุณี   กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  จังหวัดเชียงใหม่          
 
บทที่ 5    เรื่อง  หลัก  4 R  กับการลดใช้พลังงาน
 
สาระที่  3:  การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 3.1  :  เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการของเทคโนโลยี  ใช้ความรู้  ภูมิปัญญา  จินตนาการ  และความคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ  สร้างสิ่งของเครื่องใช้  วิธีการเชิงกลยุทธ์  ตามกระบวนการเทคโนโลยี  สามารถตัดสินใจ  เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต  สังคม  สิ่งแวดล้อม  โลกของงานและอาชีพ
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
 
  1. เข้าใจความหมาย ความสำคัญ  ประโยชน์ เรื่อง 4 R  เพื่อลดใช้พลังงานของพลังงานหมุนเวียน
  2. เข้าใจความหมาย  ของ Reduce  Reuse  Rycycle  and  Repair
  3. เข้าใจความหมาย  Repond  หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการลดการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันได้
  4. เข้าใจวิธีการประยุกต์สิ่งของเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้
  5. มีเจตคติที่ดีต่อการนำเอาหลักเรื่อง 4 R  มาใช้ในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้เพื่อการดำรงชีวิตได้
 
 จุดประสงค์การเรียนรู้
  1. บอกความหมาย ความสำคัญ  ประโยชน์ เรื่อง 4 R  เพื่อลดการใช้ทรัพยากร
  2. อธิบายความหมาย  ของ Reduce  Reuse  Rycycle  and  Repair
  3. บอก  Repond  หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการลดการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันได้
  4. สามารถประยุกต์สิ่งของเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้
  5. มีเจตคติที่ดีต่อการนำเอาหลักเรื่อง 4 R  มาใช้ในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้เพื่อการดำรงชีวิตได้
  6. สามารถเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ เรื่อง 4 R  เพื่อลดการใช้ทรัพยากรได้
 
 
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
   1.   ความสามารถในการสื่อสาร 
   2.   ความสามารถในการคิด
   3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา
   4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  
   5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี



Reduce, Reuse, Recycle and Respond
 ในแต่ละปี มีขยะจำหนวนหลายล้านตันที่อยู่ในรูปของหีบห่อ ขวด กล่อง กระป๋อง เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า โทรศัพท์ หนังสือ และอื่นๆอีกมาก การลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นย่อมง่าย และดีกว่าที่จะนั่งคิดวิธีจัดการกับขยะที่เกิดขึ้นเหล่านี้ การลดปริมาณขยะนี้ สามารถทำได้เพียงคุณปรับเปลี่ยนนิสัยบางอย่าง ซึ่งไม่ได้หมายถึงการดำเนินชีวิตที่ยุ่งยากกว่าเดิม ในทางกลับกัน อาจจะง่ายขึ้นด้วยซ้ำ ถ้าเราไม่เริ่มที่จะลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น ต้นทุนทางเศรษฐกิจ และสังคม จากปัญหาขยะ ก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผู้บริโภคแต่ละคนมีสามารถมีส่วนช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น โดยยึดหลัก 4นี้
 
Reduce the amount of trash discarded
 
1. ลดปริมาณบรรจุภัณฑ์หีบห่อที่ไม่จำเป็น
บรรจุ ภัณฑ์นั้นมีประโยชน์หลายประการ อย่างแรกคือจะช่วยป้องกัน และบรรจุผลิตภัณฑ์ ทำให้สินค้าคงความสด และสะอาดไว้ และบางบรรจุภัณฑ์ถูกออกแบบมาเพื่อให้ดึงดูดใจโดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์ของตัวเองจะได้โดดเด่นบนชั้นวางสินค้า แต่ทว่าตัวบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดขยะจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะช่วยลดปริมาณขยะลงได้โดยวิธีเหล่านี้ -- เมื่อเลือกซื้อสินค้าที่เหมือนกัน ให้ตัดสินใจซื้อ โดยมีบรรจุภัณฑ์ไม่จำเป็นน้อยที่สุด หรือเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
-ใน ซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้คุณพิจารณาดูว่าจำเป็นหรือไม่ที่จะซื้อผัก ผลไม้ ซึ่งบรรจุไว้เรียบร้อยแล้ว ลองเลือกซื้อสินค้าจากในกระบะ เพื่อที่เราจะไม่เพิ่มปริมาณพลาสติก และโฟม
-เลือกซื้อสินค้าที่เป็นชนิดเติม (Refill) เพื่อช่วยลดปริมาณบรรจุภัณฑ์
-พิจารณาสินค้าที่เรามักใช้ประจำ ซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านั้นในปริมาณมาก ซึ่งจะช่วยลดบรรจุภัณฑ์ต่อหน่วยสินค้า
 
2.ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดขยะอันตราย
นอกจากนี้การลดปริมาณวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดของเสีย ลดของเสียที่เป็นพิษ เป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณขยะ
-เลือก ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นพิษ หรือมีพิษตกค้างน้อยกว่า เช่น ปลูกต้นดาวเรืองเพื่อช่วยในการไล่แมลง ดีกว่าจะซื้อยาฆ่าแมลงมาใช้ หรือนำกระดาษทรายมาขัด แทนที่จะหยอดน้ำมันหล่อลื่น
-ถ้าคุณใช้ผลิตภัณฑ์อันตราย ให้ใช้ในปริมาณที่จำเป็นเท่านั้น และนำผลิตภัณฑ์ไปทิ้งอย่างถูกวิธี โดยไม่นำไปปนกับเศษอาหาร
 
Reuse containers and products        
 
3.เลือกใช้สินค้าที่สามารถนำกลับมาใช้ได้
 สินค้า หลายชนิดได้ออกมาสำหรับการใช้งานมากกว่าหนึ่งครั้ง สินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ได้อีกนั้นจะช่วยลดปริมาณขยะลงได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการจัดการขยะของแข็ง รวมถึงปริมาณวัตถุดิบและทรัพยากรด้วย
 
-เมื่อไปปิกนิก จัดปาร์ตี้ในสวน ให้ลองเลือกใช้อุปกรณ์สามารถใช้ซ้ำได้ แทนที่จะใช้เป็นจาน หรือแก้วกระดาษ ที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียว
- มองหาผลิตภัณฑ์ที่สามารถเติม (Refill) ได้
- ใช้ถ่านชาร์ตแทน เพราะจะช่วยลดขยะและสารพิษปนเปื้อนที่เกิดขึ้น
- หากจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง ให้ใช้เท่าที่จำเป็น
 
4.  ดูแล รักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน 
 ถ้า มีการดูแล รักษาอย่างเหมาะสม จะช่วยยืดอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ การลงทุนเลือกซื้อสินค้าที่ใช้งานได้นานนั้น แม้จะมีราคาสูงกว่า แต่ช่วยประหยัดเงินเราได้เป็นเวลานาน เพราะไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยๆ
- เลือกซื้อสินค้าที่มีการรับประกันที่ยาวนาน และตรวจสอบระดับความพึงพอใจของลูกค้า อัตราการชำรุดเสียหาย อีกทั้งเลือกผลิตภัณฑ์ที่สามารถซ่อมเองได้ง่าย
- เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี แข็งแรงทนทาน เพื่อที่จะไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ทั้งนี้ต้องใช้อย่างถูกวิธีด้วย
- ลองซ่อมแซมเสื้อผ้าของคุณ แทนที่จะโยนทิ้งไป
- เลือกใช้อุปกรณ์ที่จะช่วยประหยัดพลังงาน จะยืดอายุการใช้งานได้
 
5. ใช้ถุง บรรจุภัณฑ์ หรือสิ่งของต่างๆซ้ำ
ของ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันสามารถใช้มากกว่าหนึ่งครั้ง ก่อนจะโยนทิ้งสิ่งของต่างๆให้พิจารณาสักนิดก่อนว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะนำ มาใช้ซ้ำอีก
-นำถุงพลาสติกใช้แล้ว หรือกระเป๋าติดมือไปด้วย เมื่อไปช้อปปิ้ง
-ใช้กระดาษทั้งสองหน้าก่อนจะโยนทิ้ง อาจจะใช้เป็นกระดาษทด หรือจดโน้ตก็ได้
-หาก เราไม่ต้องการของนั้นแล้ว แต่ยังสามารถใช้ได้อยู่ ให้นำไปบริจาคตามสถานที่ต่างๆ เช่นโรงเรียน ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก บ้านพักคนชรา เพราะเขาอาจได้ใช้ประโยชน์จากของเหล่านั้นอยู่
-นำหนังสือพิมพ์ ใช้กล่องกระดาษซ้ำ ในการห่อของ เพื่อกันกระแทก
-ทำ ความสะอาดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ เช่น แก้ว ขวดพลาสติก กระป๋องน้ำอัดลม และนำมาใช้ซ้ำก่อนที่จะโยนทิ้ง บรรจุภัณฑ์เหล่านี้สามารถนำมาเก็บรวมรวมบรรดาของต่างๆได้ เช่น กระดุม เข็มหมุด หรือนำมาทำเป็นแจกัน
 
6.ขอยืม เช่า ของที่นานๆใช้ที
ของ ที่คุณไม่ค่อยได้ใช้ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในงานปาร์ตี้ อุปกรณ์ขัดเงาพื้น การไปขอยืมจากเพื่อนบ้าน ครอบครัวคุณ หรือเช่า ย่อมจะช่วยประหยัดเงิน และทรัพยากรธรรมชาติได้
 
-เช่า หรือยืม อุปกรณ์ตกแต่งสำหรับงานปาร์ตี้ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ จาน ชาม เครื่องใช้ต่างๆ
-เช่า หรือยืม อุปกรณ์เครื่องเสียงที่ไม่ค่อยได้ใช้
-ก่อนจะทิ้งอุปกรณ์ต่างๆ ลองถามเพื่อน เพื่อนบ้าน ญาติ หรือคนรู้จักดูว่ามีใครต้องการจะใช้สิ่งเหล่านั้นหรือไม่
-แบ่งปันหนังสือพิมพ์ และนิตยสารกับเพื่อนๆ เพื่อยืดอายุการใช้งาน และลดปริมาณขยะกระดาษ
 
7.ขาย หรือบริจาคสิ่งของต่างๆ แทนที่จะโยนทิ้งขยะของอีกคนหนึ่งอาจะเป็นสมบัติของอีกคนก็ได้ แทนที่จะโยนทิ้งของที่ไม่ใช้แล้ว ลองขาย หรือบริจาคของเหล่านี้ เลือกใช้ของที่ใช้แล้วเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณขยะได้ เพราะของเหล่านี้ราคาไม่สูง และเป็นการใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
  -บริจาคหรือขายเป็นของมือสอง ให้กับหน่วยงานที่ต้องการ ซึ่งอาจจะมีส่วนช่วยในการลดภาษี หรือได้เงินสดกลับมา โดยจะต้องคำนึงถึงความสะอาด และคุณภาพของสินค้าเหล่านี้ด้วย
 
Recycle – use recycled materials, and compost
 
8.เลือกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล
การเข้าร่วมโครงการรีไซเคิลเป็นสิ่งที่ดี จะดียิ่งขึ้นหากเราเลือกซื้อ และใช้สินค้าที่สามารถรีไซเคิลได้
-มองหาผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่สามารถนำหมุนเวียนมาใช้อีกได้ เช่น ขวดแก้ว กระป๋องน้ำอัดลม กระดาษห่อ กล่องซีเรียล
-ตรวจดูสัดส่วนของผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ ว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่สูงพอหรือไม่
 
9.เมื่อมีผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้อีก (Recycle) ได้ อย่าลืมนำไปรีไซเคิลด้วย
การผลิตสินค้าจากวัสดุที่มา Recycle ได้มักจะใช้พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่า
-แยกขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ต่างหาก เพื่อให้เจ้าหน้าที่สะดวกในการจัดเก็บและนำไปจัดการต่อไป
-อย่าทิ้งขยะอันตรายปนกับขยะทั่วไป เช่น นำน้ำมันเครื่องแยกเก็บในภาชนะที่สะอาดและทนต่อการแตกหัก
-เข้าร่วมโครงการรีไซเคิลที่จัดขึ้นในชุมชนของคุณ
 
10.ทำ ปุ๋ยด้วยตัวเอง โดยใช้เศษใบไม้ และเศษอาหารเมื่อนำสิ่งเหล่านี้มาจัดการอย่างเหมาะสม สิ่งที่เหมือนจะเป็นขยะจะสามารถเปลี่ยนมาเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ให้กับสวนสวยของคุณ จะช่วยให้ดินสามารถดูดซับอากาศ และน้ำ ลดการกัดเซาะพื้นผิว และทำให้ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไป
-การ ทำปุ๋ยด้วยตัวเองทำได้ง่ายๆดังนี้ นำเศษอาหาร เช่น เศษผัก เปลือกไข่ ผงกาแฟ ถุงชา รวมทั้งเศษใบไม้ หญ้า ผ้าขี้ริ้ว หนังสือพิมพ์ แต่ไม่ควรนำ เนื้อสัตว์ นม ไข่ เนย น้ำมัน มาใช้ เพราะจะดึงดูดพวกแมลง
โดย เริ่มจากการกองใบไม้ไว้ก่อนให้สูงสัก 4 นิ้ว จากนั้นผสมเศษอาหารต่างๆเข้ากับเศษใบไม้แล้วนำมากอง ในบริเวณที่ว่าง โล่ง โดยนำมากองไว้ในบริเวณที่โดดแดด อย่าให้เปียกน้ำ ทิ้งเอาไว้สัก 3-6 เดือน จะค่อยๆย่อยกลายเป็นสีเข้ม
 
Respair to the solid waste dilemma by reconsidering waste-producing activities and by expressing preferences for less waste
 
11.สอนคนรอบข้างคุณเกี่ยวกับเรื่องการลดปริมาณขยะ และวิธีการรีไซเคิล

แบ่ง ปันข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ให้กับครอบครัว เพื่อนๆ เพื่อนบ้าน หน่วยงานธุรกิจ ไปจนถึงผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ กระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหา และช่วยกันลดปัญหา โดยการลดการบริโภค ใช้ซ้ำ รีไซเคิล เราทุกคนต้องร่วมมือกันเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกให้กลับมาน่าอยู่อีกครั้ง

จาก : 
http://artbing.myreadyweb.com/article/category-24308.htmlรหัสวิชา ง 22101       ชื่อวิชา  การงานอาชีพและเทคโนโลยี 34   
ช่วงชั้นที่  3  ชั้นปีที่  2   
ครูผู้สอน ดรุณี   กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  จังหวัดเชียงใหม่          
 
บทที่ 5    เรื่อง  หลัก  4 R  กับการลดใช้พลังงาน
 
สาระที่  3:  การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 3.1  :  เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการของเทคโนโลยี  ใช้ความรู้  ภูมิปัญญา  จินตนาการ  และความคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ  สร้างสิ่งของเครื่องใช้  วิธีการเชิงกลยุทธ์  ตามกระบวนการเทคโนโลยี  สามารถตัดสินใจ  เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต  สังคม  สิ่งแวดล้อม  โลกของงานและอาชีพ
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

 
  1. เข้าใจความหมาย ความสำคัญ  ประโยชน์ เรื่อง 4 R  เพื่อลดใช้พลังงานของพลังงานหมุนเวียน
  2. เข้าใจความหมาย  ของ Reduce  Reuse  Rycycle  and  Repair
  3. เข้าใจความหมาย  Repond  หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการลดการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันได้
  4. เข้าใจวิธีการประยุกต์สิ่งของเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้
  5. มีเจตคติที่ดีต่อการนำเอาหลักเรื่อง 4 R  มาใช้ในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้เพื่อการดำรงชีวิตได้
 
 จุดประสงค์การเรียนรู้
  1. บอกความหมาย ความสำคัญ  ประโยชน์ เรื่อง 4 R  เพื่อลดการใช้ทรัพยากร
  2. อธิบายความหมาย  ของ Reduce  Reuse  Rycycle  and  Repair
  3. บอก  Repond  หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการลดการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันได้
  4. สามารถประยุกต์สิ่งของเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้
  5. มีเจตคติที่ดีต่อการนำเอาหลักเรื่อง 4 R  มาใช้ในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้เพื่อการดำรงชีวิตได้
  6. สามารถเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ เรื่อง 4 R  เพื่อลดการใช้ทรัพยากรได้
 
 
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
   1.   ความสามารถในการสื่อสาร 
   2.   ความสามารถในการคิด
   3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา
   4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  
   5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี



Reduce, Reuse, Recycle and Respond
 ในแต่ละปี มีขยะจำหนวนหลายล้านตันที่อยู่ในรูปของหีบห่อ ขวด กล่อง กระป๋อง เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า โทรศัพท์ หนังสือ และอื่นๆอีกมาก การลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นย่อมง่าย และดีกว่าที่จะนั่งคิดวิธีจัดการกับขยะที่เกิดขึ้นเหล่านี้ การลดปริมาณขยะนี้ สามารถทำได้เพียงคุณปรับเปลี่ยนนิสัยบางอย่าง ซึ่งไม่ได้หมายถึงการดำเนินชีวิตที่ยุ่งยากกว่าเดิม ในทางกลับกัน อาจจะง่ายขึ้นด้วยซ้ำ ถ้าเราไม่เริ่มที่จะลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น ต้นทุนทางเศรษฐกิจ และสังคม จากปัญหาขยะ ก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผู้บริโภคแต่ละคนมีสามารถมีส่วนช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น โดยยึดหลัก 4นี้
 
Reduce the amount of trash discarded
 
1. ลดปริมาณบรรจุภัณฑ์หีบห่อที่ไม่จำเป็น
บรรจุ ภัณฑ์นั้นมีประโยชน์หลายประการ อย่างแรกคือจะช่วยป้องกัน และบรรจุผลิตภัณฑ์ ทำให้สินค้าคงความสด และสะอาดไว้ และบางบรรจุภัณฑ์ถูกออกแบบมาเพื่อให้ดึงดูดใจโดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์ของตัวเองจะได้โดดเด่นบนชั้นวางสินค้า แต่ทว่าตัวบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดขยะจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะช่วยลดปริมาณขยะลงได้โดยวิธีเหล่านี้ -- เมื่อเลือกซื้อสินค้าที่เหมือนกัน ให้ตัดสินใจซื้อ โดยมีบรรจุภัณฑ์ไม่จำเป็นน้อยที่สุด หรือเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
-ใน ซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้คุณพิจารณาดูว่าจำเป็นหรือไม่ที่จะซื้อผัก ผลไม้ ซึ่งบรรจุไว้เรียบร้อยแล้ว ลองเลือกซื้อสินค้าจากในกระบะ เพื่อที่เราจะไม่เพิ่มปริมาณพลาสติก และโฟม
-เลือกซื้อสินค้าที่เป็นชนิดเติม (Refill) เพื่อช่วยลดปริมาณบรรจุภัณฑ์
-พิจารณาสินค้าที่เรามักใช้ประจำ ซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านั้นในปริมาณมาก ซึ่งจะช่วยลดบรรจุภัณฑ์ต่อหน่วยสินค้า
 
2.ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดขยะอันตราย
นอกจากนี้การลดปริมาณวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดของเสีย ลดของเสียที่เป็นพิษ เป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณขยะ
-เลือก ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นพิษ หรือมีพิษตกค้างน้อยกว่า เช่น ปลูกต้นดาวเรืองเพื่อช่วยในการไล่แมลง ดีกว่าจะซื้อยาฆ่าแมลงมาใช้ หรือนำกระดาษทรายมาขัด แทนที่จะหยอดน้ำมันหล่อลื่น
-ถ้าคุณใช้ผลิตภัณฑ์อันตราย ให้ใช้ในปริมาณที่จำเป็นเท่านั้น และนำผลิตภัณฑ์ไปทิ้งอย่างถูกวิธี โดยไม่นำไปปนกับเศษอาหาร
 
Reuse containers and products        
 
3.เลือกใช้สินค้าที่สามารถนำกลับมาใช้ได้
 สินค้า หลายชนิดได้ออกมาสำหรับการใช้งานมากกว่าหนึ่งครั้ง สินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ได้อีกนั้นจะช่วยลดปริมาณขยะลงได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการจัดการขยะของแข็ง รวมถึงปริมาณวัตถุดิบและทรัพยากรด้วย
 
-เมื่อไปปิกนิก จัดปาร์ตี้ในสวน ให้ลองเลือกใช้อุปกรณ์สามารถใช้ซ้ำได้ แทนที่จะใช้เป็นจาน หรือแก้วกระดาษ ที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียว
- มองหาผลิตภัณฑ์ที่สามารถเติม (Refill) ได้
- ใช้ถ่านชาร์ตแทน เพราะจะช่วยลดขยะและสารพิษปนเปื้อนที่เกิดขึ้น
- หากจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง ให้ใช้เท่าที่จำเป็น
 
4.  ดูแล รักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน 
 ถ้า มีการดูแล รักษาอย่างเหมาะสม จะช่วยยืดอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ การลงทุนเลือกซื้อสินค้าที่ใช้งานได้นานนั้น แม้จะมีราคาสูงกว่า แต่ช่วยประหยัดเงินเราได้เป็นเวลานาน เพราะไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยๆ
- เลือกซื้อสินค้าที่มีการรับประกันที่ยาวนาน และตรวจสอบระดับความพึงพอใจของลูกค้า อัตราการชำรุดเสียหาย อีกทั้งเลือกผลิตภัณฑ์ที่สามารถซ่อมเองได้ง่าย
- เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี แข็งแรงทนทาน เพื่อที่จะไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ทั้งนี้ต้องใช้อย่างถูกวิธีด้วย
- ลองซ่อมแซมเสื้อผ้าของคุณ แทนที่จะโยนทิ้งไป
- เลือกใช้อุปกรณ์ที่จะช่วยประหยัดพลังงาน จะยืดอายุการใช้งานได้
 
5. ใช้ถุง บรรจุภัณฑ์ หรือสิ่งของต่างๆซ้ำ
ของ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันสามารถใช้มากกว่าหนึ่งครั้ง ก่อนจะโยนทิ้งสิ่งของต่างๆให้พิจารณาสักนิดก่อนว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะนำ มาใช้ซ้ำอีก
-นำถุงพลาสติกใช้แล้ว หรือกระเป๋าติดมือไปด้วย เมื่อไปช้อปปิ้ง
-ใช้กระดาษทั้งสองหน้าก่อนจะโยนทิ้ง อาจจะใช้เป็นกระดาษทด หรือจดโน้ตก็ได้
-หาก เราไม่ต้องการของนั้นแล้ว แต่ยังสามารถใช้ได้อยู่ ให้นำไปบริจาคตามสถานที่ต่างๆ เช่นโรงเรียน ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก บ้านพักคนชรา เพราะเขาอาจได้ใช้ประโยชน์จากของเหล่านั้นอยู่
-นำหนังสือพิมพ์ ใช้กล่องกระดาษซ้ำ ในการห่อของ เพื่อกันกระแทก
-ทำ ความสะอาดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ เช่น แก้ว ขวดพลาสติก กระป๋องน้ำอัดลม และนำมาใช้ซ้ำก่อนที่จะโยนทิ้ง บรรจุภัณฑ์เหล่านี้สามารถนำมาเก็บรวมรวมบรรดาของต่างๆได้ เช่น กระดุม เข็มหมุด หรือนำมาทำเป็นแจกัน
 
6.ขอยืม เช่า ของที่นานๆใช้ที
ของ ที่คุณไม่ค่อยได้ใช้ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในงานปาร์ตี้ อุปกรณ์ขัดเงาพื้น การไปขอยืมจากเพื่อนบ้าน ครอบครัวคุณ หรือเช่า ย่อมจะช่วยประหยัดเงิน และทรัพยากรธรรมชาติได้
 
-เช่า หรือยืม อุปกรณ์ตกแต่งสำหรับงานปาร์ตี้ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ จาน ชาม เครื่องใช้ต่างๆ
-เช่า หรือยืม อุปกรณ์เครื่องเสียงที่ไม่ค่อยได้ใช้
-ก่อนจะทิ้งอุปกรณ์ต่างๆ ลองถามเพื่อน เพื่อนบ้าน ญาติ หรือคนรู้จักดูว่ามีใครต้องการจะใช้สิ่งเหล่านั้นหรือไม่
-แบ่งปันหนังสือพิมพ์ และนิตยสารกับเพื่อนๆ เพื่อยืดอายุการใช้งาน และลดปริมาณขยะกระดาษ
 
7.ขาย หรือบริจาคสิ่งของต่างๆ แทนที่จะโยนทิ้งขยะของอีกคนหนึ่งอาจะเป็นสมบัติของอีกคนก็ได้ แทนที่จะโยนทิ้งของที่ไม่ใช้แล้ว ลองขาย หรือบริจาคของเหล่านี้ เลือกใช้ของที่ใช้แล้วเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณขยะได้ เพราะของเหล่านี้ราคาไม่สูง และเป็นการใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
  -บริจาคหรือขายเป็นของมือสอง ให้กับหน่วยงานที่ต้องการ ซึ่งอาจจะมีส่วนช่วยในการลดภาษี หรือได้เงินสดกลับมา โดยจะต้องคำนึงถึงความสะอาด และคุณภาพของสินค้าเหล่านี้ด้วย
 
Recycle – use recycled materials, and compost
 
8.เลือกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล
การเข้าร่วมโครงการรีไซเคิลเป็นสิ่งที่ดี จะดียิ่งขึ้นหากเราเลือกซื้อ และใช้สินค้าที่สามารถรีไซเคิลได้
-มองหาผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่สามารถนำหมุนเวียนมาใช้อีกได้ เช่น ขวดแก้ว กระป๋องน้ำอัดลม กระดาษห่อ กล่องซีเรียล
-ตรวจดูสัดส่วนของผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ ว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่สูงพอหรือไม่
 
9.เมื่อมีผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้อีก (Recycle) ได้ อย่าลืมนำไปรีไซเคิลด้วย
การผลิตสินค้าจากวัสดุที่มา Recycle ได้มักจะใช้พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่า
-แยกขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ต่างหาก เพื่อให้เจ้าหน้าที่สะดวกในการจัดเก็บและนำไปจัดการต่อไป
-อย่าทิ้งขยะอันตรายปนกับขยะทั่วไป เช่น นำน้ำมันเครื่องแยกเก็บในภาชนะที่สะอาดและทนต่อการแตกหัก
-เข้าร่วมโครงการรีไซเคิลที่จัดขึ้นในชุมชนของคุณ
 
10.ทำ ปุ๋ยด้วยตัวเอง โดยใช้เศษใบไม้ และเศษอาหารเมื่อนำสิ่งเหล่านี้มาจัดการอย่างเหมาะสม สิ่งที่เหมือนจะเป็นขยะจะสามารถเปลี่ยนมาเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ให้กับสวนสวยของคุณ จะช่วยให้ดินสามารถดูดซับอากาศ และน้ำ ลดการกัดเซาะพื้นผิว และทำให้ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไป
-การ ทำปุ๋ยด้วยตัวเองทำได้ง่ายๆดังนี้ นำเศษอาหาร เช่น เศษผัก เปลือกไข่ ผงกาแฟ ถุงชา รวมทั้งเศษใบไม้ หญ้า ผ้าขี้ริ้ว หนังสือพิมพ์ แต่ไม่ควรนำ เนื้อสัตว์ นม ไข่ เนย น้ำมัน มาใช้ เพราะจะดึงดูดพวกแมลง
โดย เริ่มจากการกองใบไม้ไว้ก่อนให้สูงสัก 4 นิ้ว จากนั้นผสมเศษอาหารต่างๆเข้ากับเศษใบไม้แล้วนำมากอง ในบริเวณที่ว่าง โล่ง โดยนำมากองไว้ในบริเวณที่โดดแดด อย่าให้เปียกน้ำ ทิ้งเอาไว้สัก 3-6 เดือน จะค่อยๆย่อยกลายเป็นสีเข้ม
 
Respair to the solid waste dilemma by reconsidering waste-producing activities and by expressing preferences for less waste
 
11.สอนคนรอบข้างคุณเกี่ยวกับเรื่องการลดปริมาณขยะ และวิธีการรีไซเคิล

แบ่ง ปันข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ให้กับครอบครัว เพื่อนๆ เพื่อนบ้าน หน่วยงานธุรกิจ ไปจนถึงผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ กระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหา และช่วยกันลดปัญหา โดยการลดการบริโภค ใช้ซ้ำ รีไซเคิล เราทุกคนต้องร่วมมือกันเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกให้กลับมาน่าอยู่อีกครั้ง

จาก : 
http://artbing.myreadyweb.com/article/category-24308.html